บทความที่ได้รับความนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ศูนย์สื่อสารการบิน

บริษัทฯ ได้ดำเนินงานเป็นศูนย์สื่อสารการบินระหว่างประเทศ (International Aeronautical Fixed Telecommunications Network: AFTN Center) ของประเทศไทย
 โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้
  1. ทำหน้าที่รับ-ส่ง กระจาย และถ่ายทอดข่าวแผนการบิน ซึ่งเป็นข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับอากาศยาน เช่น ชื่อเรียกขาน เส้นทางบิน จุดรายงานความสูง ความเร็ว ท่าอากาศยานปลายทาง เป็นต้น
  2. ให้ข่าวประกาศผู้ทำงานในอากาศ ซึ่งเป็นข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการบินที่ต้องแจ้งให้นักบิน ผู้ควบคุมจราจรทางอากาศ และผู้เกี่ยวข้องทราบ เช่น สภาพท่าอากาศยาน พื้นที่หวงห้าม และพื้นที่อันตรายบนเส้นทางบิน เป็นต้น
  3. ให้ข่าวอากาศการบิน ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับสภาพอากาศ เช่น สภาพอากาศในเส้นทางบิน เป็นต้น
  4. ให้ข่าวที่อำนวยความสะดวกในการบิน เพื่อความปลอดภัย ของผู้ประกอบการขนส่งทางอากาศ
ศูนย์สื่อสารการบินระหว่างประเทศของบริษัทฯ มีฐานะเป็นศูนย์สื่อสารการบินหลัก (Main AFTN Center) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีข่ายสื่อสารทางโทรพิมพ์ติดต่อโดยตรงกับศูนย์สื่อสารการบินของสิงคโปร์ มาเลเซีย(กัวลาลัมเปอร์) เวียดนาม(โฮจิมินห์) ลาว(เวียงจันทน์) พม่า(ร่างกุ้ง) ฮ่องกง อินเดีย(บอมเบย์) บังคลาเทศ(ดาร์ก้า) กัมพูชา(พนมเปญ, เสียมเรียบ) และอิตาลี(โรม) ทั้งยังเป็นธนาคารข้อมูลข่าวอากาศการบิน (Operational Meteorological Data Bank: OPMET DATA BANK) คือทำหน้าที่เก็บรวบรวม และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวอากาศการบิน หรือ OPMET Information โดยมีสถานีย่อย ๆ 11 แห่งเป็นลูกข่าย ได้แก่ ดอนเมือง เชียงใหม่ อู่ตะเภา หาดใหญ่ ภูเก็ต ลาว(เวียงจันทน์) พม่า(ร่างกุ้ง) เวียดนาม (โฮจิมินห์, ฮานอย, ดานัง) และกัมพูชา (พนมเปญ) และทำการติดต่อกับศูนย์ฯ หลักอื่น ๆ อีก 7 แห่ง ได้แก่ ฮ่องกง อินโดนีเซีย (จาการ์ตา) ศรีลังกา (โคลอมโบ) อินเดีย (เดลลี, บอมเบย์, กัลกัตตา) มาเลเซีย (กัวลาลัมเปอร์) โดยศูนย์ฯหลัก จะทำการรับข้อมูลจากสถานีย่อย แล้วรวบรวมข้อมูลสำหรับแจกจ่ายไปยังศูนย์ฯ หลักอื่นๆ ในภาคพื้นของตน ในขณะเดียวกัน ก็รับข้อมูลจากศูนย์ฯ หลักอื่นๆ แล้วแจกจ่ายไปยังสถานีย่อยต่างๆ ที่เป็นลูกข่ายของตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่ เป็นจุดแลกเปลี่ยนข่าวอากาศการบินระหว่างประเทศ ซึ่งมีเครือข่ายเชื่อมโยงทั่วโลก เพื่อให้แต่ละประเทศ ได้รับข้อมูลสำคัญต่อการปฏิบัติการบิน ได้อย่างรวดเร็ว และฉับไว การดำเนินงานของศูนย์ฯ ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ถ่ายทอดข่าวสารการบินแบบอัตโนมัติ (Automatic Message Switching System) โดยวิศวกรของบริษัทฯ ได้ทำการผลิตและพัฒนาระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพและความเร็วสูงยิ่งขึ้นตลอดเวลา และยังมีการนำเครือข่าย โทรคมนาคมการบิน (Aeronautical Telecommunication Network : ATN) ซึ่งเป็นการพัฒนาการสื่อสาร ให้มีความทันสมัยที่สุดโดยผสานเทคโนโลยีดาวเทียม การสื่อสารข้อมูลระบบดิจิตอล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้การรับ-ส่งข่าวสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้เกี่ยวข้องทั่วโลก มีความเที่ยงตรง แม่นยำ ไร้ข้อจำกัดตามนโยบาย ICAO
 
นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ให้บริการการเดินอากาศ ดำเนินการเกี่ยวกับแผนการบิน ตรวจสอบข้อมูลข่าวสารการบิน จากแหล่งข่าว และออกข่าวประกาศผู้ทำงานในอากาศ (NOTAM) เพื่อประกาศข้อมูล กำหนดเงื่อนไข หรือการเปลี่ยนแปลง สิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ หรือแจ้งเกี่ยวกับสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อการเดินอากาศใด ๆ ที่เกิดขึ้น รวมถึงการให้บริการข่าวการบินประจำท่าอากาศยาน และบริการเกี่ยวกับแผนภูมิการเดินอากาศ
 
บริษัทฯ ยังได้จัดตั้งข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียม (AERONET) เพื่อใช้ในการสนับสนุนบริการควบคุมจราจรทางอากาศ สื่อสารการบิน และ บริการที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการบิน โดยมีสถานีหลักอยู่ที่สำนักงานใหญ่ และมีสถานี Remote ที่ท่าอากาศยาน ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เครือข่ายการทำงานเป็นแบบ Star Network ให้บริการสื่อสัญญาณข้อมูล และเสียงผ่านระบบ V - SAT (Very Small Aperture Terminal) และระบบ MCPC (Multi Channel Per Carrier) เพื่อให้การสื่อสาร เที่ยงตรงแม่นยำ และรวดเร็วสูงสุด

บริการควบคุมจราจรทางอากาศ

การเดินทางทางอากาศหัวใจสำคัญของการเดินทางคือการไปถึงจุดหมายด้วยความปลอดภัยและรวดเร็ว ปัจจัยสำคัญยิ่งประการหนึ่งซึ่งนอกเหนือไปจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีของยานพาหนะชนิดต่างๆ ตลอดจนการเพิ่มเส้นทางหรือห้วงอากาศสำหรับสัญจรก็คือ การจัดการหรือควบคุมจราจรนั่นเอง
 
การบัญญัติกฏหมาย กำหนดระเบียบวิธีปฏิบัติการจำแนกอำนาจหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจราจรหรือแม้กระทั่ง การสร้างความเข้าใจให้ตรงกันล้วนแต่เป็นวิธีการและเครื่องมือเพื่อการจัดการหรือการควบคุมจราจรอันเป็นระบบที่นำไปสู่ ความปลอดภัยและรวดเร็วของการจราจรทุกด้านทั้งสิ้นและการจราจรทางอากาศซึ่งมีแผ่นฟ้ากว้างใหญ่ประดุจถนนบนอากาศ ก็ไม่อยู่ในข้อยกเว่นทั้งยังกล่าวได้ว่ามีความจำเป็นในระดับที่จะขาดไม่ได้เช่นเดียวกับการควบคุมจราจรในการคมนาคมประเภทอื่นๆ
 
ด้วยเหตุที่การบินจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งจะมีเพียงเส้นตรงเดียวเท่านั้นที่เป็นระยะใกล้ที่สุดหากมีอากาศยานมากกว่าหนึ่งลำขึ้นไป ใช้เส้นทางในการเดินทางไปยังจุดต่างๆหากทำการบินโดยไม่มีการจัดการก็จะมีโอกาศที่จะเกิดอุบัติเหตุทางอากาศได้ขณะที่ใช้ห้วงอากาศ มีความต้องการระดับเพดานบินเดียวกันมีกำหนดเวลาบินเดียวกันการควบคุมและจัดการให้อากาศยานให้อากาศยานทุกลำ เกิดความปลอดภัยได้นั้นต้องอาศัยบุคคลและอุปกรรืสื่อสารภาคพื้นเป็นเครื่องมือที่ช่วยดำเนินการอย่างเป็นระบบซึ่งเรียกว่า การบริการควบคุมทางอากาศ (Air Traffic Control Service)


การควบคุมจราจรทางอากาศเป็นวิชาแขนงใหม่ที่มีความสำคัญยิ่งในบรรดาศาสตร์และศิลป์ของการบินในยุคปัจจุบัน เมื่อสมัย ที่การบินยังไม่เจริญนั้น การจราจรทางอากาศก็มีน้อย การควบคุมการจรจรทางอากาศจึงไม่สำคัญและจำเป็นนัก เครื่องมือเครื่อง ใช้สำหรับการบริการควบคุมการจราจรทางอากาศในสมัยนั้นก็มีเพียง ธงเขียว ธงแดง และผ้าขาวที่มีรูปอัคษร "T" เพื่อเป็นสัญญาณ บอกทิศทางให้อากาศยานขึ้น-ลงก่อนปูผ้าสัญญาณ เพียงแต่ยกธงชูขึ้นบรศีรษะ ก็จะทราบได้ว่าลมพัดไปทางทิศใด แล้วจึงปูผ้าสัญญาณ บอกทิศทางให้อากาศยานขึ้น-ลงได้ การบินในสมัยดังกล่าวนี้มักจะกระทำเฉพาะในเวลากลางวันและในเวลาที่อากาศดีเท่านั้น ต่อมาเมื่อ การบินได้วิวัฒนาการยิ่งขึ้น การควบคุมจราจรทางอากาศจึงมีบทบาทสำคัญทั้งในด้านการบินทหารและพลเรือน ซึ่งการบินในสมัย ก้าวหน้านี้ ได้กระทำกันตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน และทุกลักษณะอากาศ ไม่ว่าจะฝนตก ลมแรง หรือมีเมฆหมอกก็ตาม โดยเฉพาะในด้านการบินพลเรือนนั่น ประเทศต่างๆได้เปิดสายการบินให้ยริการขนส่งทางอากาศทั้งภายในและภายนอกประเทศ ฉะนั้นการควบคุมจราจรทางอากาศจึงต้องกระทำด้วยวิธีการที่เหมาะสมตามแบบมาตรฐานระหว่างประเทศ เพื่อให้การจราจรทางอากาศ ดำเนินไปด้วยความปลอกภัยรวดเร็วและเป็นระเบียบเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมจราจรทางอากาศจึงต้องมีความรู้ความสามารถและจัดเจนในหน้าที่ เพื่ออำนวยการควบคุมจราจรทางอากาศให้แก่อากาศยานได้อย่างเพียงพอ นับแต่อากาศยานเริ่มทำการบินจนถึงท่าอากาศยานปลายทาง
 

บริการควบคุมจราจรทางอากาศเป็นงานส่วนหนึ่งในสามงานของงานจราจรทางอากาศ(Ait Traffic Service) รัฐบาลได้ มอบหมายให้บริษัทฯเป็นผู้ดำเนินงานเมื่อ 1 กันยายน พ.ศ.2492 อันสืบเนื่องมาจากการจัดตั้งและแบ่งอาณาเขตแถลงข่าวการบิน (Flight Information Region) ของแต่ละประเทศ ในการประชุม ICAO 1st Southeast Asia Regional Air Navigation Meeting, New Delhi,1948 โดยมีงานด้านเส้นทางบิน(En-Epute)ส่วนงานด้านบริการสนามบิน(Terminal)ที่จัดการจราจร ทางอากาศโดยรอบๆ แต่ละสนามบินยังเป็นงานของกรมการบินพานิชย์ กระทรวงคมนาคม และกรมการบินพลเรือน กองทัพอากาศ ในขณะนั้น ซึ่งต่อมาได้โอนความรับผิดชอบมาให้บริษัทฯทั้งหมด
 
นอกจากนั้นยังมี งานแถลงข่าวการบิน(Flight Information Service)อันเป็นงานที่มีหน้าที่ให้คำแนะนำ และให้ข่าวสาร ซึ่งเป็นประโยชณ์ต่อความปลอดภัยในการบินและให้การบินลุล่วงไปอย่างมีผลกับงานอีกสองด้านคืองานเตือนภัยการบิน (Alerting Service)กับงานด้านค้นหาและช่วยเหลือ(Search and Rescue)อันเป็นงานที่มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วย งานที่เหมาะสมในกรณีที่อากาศยานต้องการความช่วยเหลือ
 
งานบริการควบคุมจราจรทางอากาศนับได้ว่าเป็นงานที่สำคัญแลจำเป็นที่สุดในการจัดการให้อากาศยานลำหนึ่ง เริ่มทำการบินจนกระทั่งบินถึงท่าอากาศยานปลายทางได้เพราะเป็นงานเพื่อการป้องกันไม่ให้อากาศยานชนกันเอง รวมถึงการป้องกันไม่ให้อากาศยานชนกับสิ่งกีดขวางทั้งในพื้นที่ปฏิบัติการและสิ่งกีดขวางอื่นในขณะทำการบิน เช่น บอลลูน ภูเขา รถที่แล่นไปมาในพื้นที่ที่เป็นลานจอดหรือทางวิ่งเป็นต้น นอกจากนี้ยังทำให้การจราจรทางอากาศ เกิดความคล่องตัวและเป็นระเบียบอีกด้วย
 
งานควบคุมการจราจรทางอากาศตามแบบมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบันแบ่งหน้าที่ออกเป็น 3 ชนิด โดยจำแนก ตามบริเวณที่ควบคุมคือ
 
 



 

บริการการเดินอากาศ

ให้บริการการเดินอากาศ ในเขตแถลงข่าวการบินของประเทศไทย และพื้นที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับ มอบหมาย การให้บริการการเดินอากาศ (Air Navigation Services : ANS) ประกอบด้วย บริการควบคุมจราจรทางอากาศ (Air Traffic Services : ATS) และ บริการสื่อสารการบิน (Aeronautical Telecommunications Service : COM)
NOTAM : Notices to Airmen ข่าวประกาศนักบิน
Met : Meteorology ข่าวอากาศการบิน
AOC : Airline Operation Control บริการสื่อสารข้อมูลการบินระหว่างอากาศยานกับศูนย์ปฏิบัติการของสายการบิน

บริการควบคุมจราจรทางอากาศ เป็นการจัดระบบการขนส่งทางอากาศตามระเบียบและมาตรฐานสากล เพื่อความปลอดภัยทางการบิน โดยมีหลักการสำคัญ คือ ให้อากาศยานที่บินต่างเวลา ต่างความสูง หรือต่างทิศทางกัน รวมทั้งแจ้งข่าวสารให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของนักบิน (Flight Information Service) และบริการเตือนภัย (Alerting Service) เพื่อให้อากาศยานถึงที่หมายด้วยความปลอดภัย สะดวก รวดเร็วประกอบด้วย
  1. การควบคุมจราจรทางอากาศบริเวณท่าอากาศยาน (Aerodrome Control Service)
  2. การควบคุมจราจรทางอากาศ เขตประชิดท่าอากาศยาน (Approach Control Service)
  3. การควบคุมจราจรทางอากาศตามเส้นทางบิน (Area Control Service)
บริการสื่อสารการบิน ประกอบด้วย
  1. บริการข้อมูลอากาศการบิน (Meteorological Services For Air Navigation)
  2. บริการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงาน ค้นหาและช่วยเหลือ (Search and Rescue Services)
  3. บริการข้อมูลการบิน (Aeronautical Information Services)
    | ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ AEROTHAI - AIS/MET Services on the internet |
 


 ประวัติความเป็นมา
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ให้ทำหน้าที่ให้บริการ ควบคุมจราจรทางอากาศ และสื่อสารการบิน จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดขึ้นทางทวีปเอเชีย ส่งผลให้ อากาศยานพลเรือนไม่อาจทำการบินจึงต้องเลิกกิจการลง        เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง การประกอบธุรกิจการบินระหว่างประเทศเริ่มฟื้นตัวขึ้น บริษัท Aeronautical Radio Inc. (ARINC) จากสหรัฐอเมริกา บริษัท International Aeradio Ltd. (IAL) จากอังกฤษ และสายการบินต่างๆที่ทำการบินมายังประเทศไทย ได้ร่วมกันขออนุมัติรัฐบาลไทยจัดตั้งบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัดAERONAUTICAL RADIO OF SIAM LTD. เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2491 เพื่อดำเนินกิจการบริการควบคุมจราจรทางอากาศ และสื่อสารการบินตามมาตรฐาน และข้อเสนอแนะขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization) ภายใต้สัญญาที่ได้รับจากรัฐบาลไทย
  จนกระทั่งต่อมารัฐบาลไทยซึ่งได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของภารกิจวิทยุการบินฯตลอดมาว่า เกี่ยวข้องกับ ความมั่นคงแห่งชาติ และการพัฒนากิจการบิน ประกอบกับมีความพร้อมในทุกๆด้านแล้ว จึงได้รับโอนกิจการเข้ามาดำเนินงานในรูปแบบองค์กรของรัฐบาลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2506 และเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเป็น AERONAUTICAL RADIO OF THAILAND LTD. หรือ AEROTHAI ในเวลาต่อมายังได้อนุญาตให้สายการบินที่ทำการบินมายังประเทศไทย เป็นประจำ ร่วมเป็นผู้ถือหุ้นกับรัฐบาลด้วย วิทยุการบินฯ จึงได้มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม ถึงแม้จะดำเนินการในรูปบริษัทจำกัด แต่เนื่องจากมีข้อผูกพันในฐานะที่ปฏิบัติงานในนามรัฐบาล ซึ่งเป็นภาคีสมาชิกของ ICAO และตามข้อตกลงที่มีไว้กับรัฐบาล วิทยุการบินฯ จึงดำเนินการแบบไม่ค้ากำไร ในการให้บริการภาคความปลอดภัย ได้แก่ บริการควบคุมจราจรทางอากาศ และสื่อสารการบินในอาณาเขตประเทศไทย โดยมีเครือข่ายเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆ นอกจากนั้นยังมีบริการภาคธุรกิจ คือ บริการเกี่ยวเนื่องกับกิจการบินทั้งใน และต่างประเทศ
   ปัจจุบันนับเป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่วิทยุการบินฯ ได้ดำเนินกิจการด้วยความมุ่งมั่น ที่รักษาคุณภาพ การให้บริการ พัฒนาเทคโนโลยี และบุคลากรให้มีความทันสมัย และประสานความร่วมมือกับองค์กรการบิน ทั้งใน และต่างประเทศ เพื่อจะมีส่วนร่วมมือกับองค์กรการบินทั้งในและต่างประเทศ เพื่อมีส่วนร่วมนำความเจริญก้าวหน้า มาสู่กิจการบินทั้งประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย